การใช้วรรณกรรมบำบัดเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมก้าวร้าวของ นักเรียนที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง วรรณพร กองมงคล

ชื่อเรื่องการค้นคว้าแบบอิสระ        

การใช้วรรณกรรมบำบัดเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมก้าวร้าวของ  นักเรียนที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง

 

ผู้เขียน                                นางสาววรรณพร  กองมงคล

ปริญญา                             ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา)

อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ         

รองศาสตราจารย์ทัศนา  สลัดยะนันท์           ประธานกรรมการ

อ. ดร. สมชาย  เตียวกุล                                     กรรมการ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลการใช้วรรณกรรมบำบัดเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนที่มาจากครอบครัวหย่าร้างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-5 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อและโรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่มาจากครอบครัวหย่าร้างและมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวสูงกว่านักเรียนคนอื่นๆ จำนวน 24  คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่ได้รับวรรณกรรมบำบัดและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับวรรณกรรมบำบัด กลุ่มละ 12 คน  การทดลองดำเนินการติดต่อกันทั้งหมด 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว ของ สุรัชนี เปี่ยมญาติ และใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กที่คัดสรรว่ามีความเกี่ยวข้องกับเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและครอบครัวหย่าร้างทั้งหมดจำนวน 16 เรื่องสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test

ผลการศึกษาพบว่า

1.  กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมวรรณกรรมบำบัด มีพฤติกรรมก้าวร้าวในระยะหลังการทดลองน้อยกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

2.   กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมวรรณกรรมบำบัดในระยะหลังการทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

Message us