สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. รอบสาม เมื่อวันที่ 22 ถึง 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2554ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา มีการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน ซึ่งสรุปผลการประเมินโดยภาพรวมตามรายมาตรฐานเป็นตารางดังต่อไปนี้
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป ได้แก่
ลำดับที่ |
ตัวบ่งชี้ |
ชื่อตัวบ่งชี้ |
ระดับคุณภาพ |
1 |
9 |
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา |
ดีมาก |
2 |
10 |
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา |
ดีมาก |
3 |
11 |
ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา |
ดีมาก |
4 |
12 |
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา |
ดีมาก |
5 |
8 |
พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและ ต้นสังกัด |
ดีมาก |
6 |
1 |
ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี |
ดีมาก |
7 |
2 |
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ |
ดีมาก |
8 |
3 |
ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
ดีมาก |
9 |
6 |
ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
ดีมาก |
10 |
7 |
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา |
ดีมาก |
11 |
4 |
ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น |
ดี |
ตัวบ่งชี้ที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป ได้แก่
ลำดับที่ |
ตัวบ่งชี้ |
ชื่อตัวบ่งชี้ |
ระดับคุณภาพ |
1 |
5 |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน |
พอใช้ |
จุดเด่น
1. ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่วนใหญ่มีลักษณะของลูกที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี ใฝ่เรียนใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น มีผลพัฒนาตามจุดเน้น จุดเด่นที่เป็นผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาโดดเด่นเป็นที่ยอมรับทั้งในชุมชนและองค์กรภายนอก
2. ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของตนได้เหมาะสม ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา คือ ส่งเสริมให้เกิดผู้เรียนยุคใหม่ แลสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
3. ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป และเป็นครูดีเด่นทุกคน มีความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ กระตือรือร้นในการทำงาน ตั้งใจทำงาน มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบางกลุ่มสาระ การเรียนรู้สูงขึ้น
4. สถานศึกษามีการจัดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2553 มีการประเมินผลโดยหน่วยงานต้นสังกัด และมีการพัฒนาผลการประเมินตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานของต้นสังกัดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จุดที่ควรพัฒนา
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ต่ำกว่าระดับคุณภาพ ดี โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การงานอาชีพและเทคโนโลยี ต้องปรับปรุง และวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับคุณภาพ พอใช้
2. สถานศึกษาขาดการดำเนินการที่ดี ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล นำผลมาปรับปรุงพัฒนางานและการประเมินผลตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมให้เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยประเมินให้ตรงเป้าหมายของแผนงาน โครงการ
3. ด้านครู ส่วนหนึ่งขาดการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ ใช้ผลประเมินพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้อยู่ในระดับ ดี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553
1. ด้านผลการจัดการศึกษา
ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการฝึกฝนทักษะทางภาษาซ้ำบ่อย ๆ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน ครูฟื้นฟูกิจกรรมคัดไทย เขียนตามคำบอก แต่งความ เรียงความ ย่อความ ส่วนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และศิลปะ ควรเน้นการจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง และเสริมองค์ความรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทดสอบย่อยเป็น
ระยะ ๆ ครูควรนำผลการทดสอบวัดผลการเรียนระดับชาติ ONET มาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ประชุมวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย นำผลประเมินไปวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะประสบความสำเร็จ เช่น การปรับการสอนการพัฒนาสื่อการปรับปรุงแบบทดสอบตามรูปแบบการทดสอบของ สทศ. เป็นต้น
2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา
1) สถานศึกษาควรส่งเสริม กระตุ้น จูงใจ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแสดงบทบาทในการกำหนดจุดเด่น จุดเน้น นโยบายเพื่อการพัฒนาการศึกษาให้เป็นรูปธรรมให้สอดคล้องตามแนวปฏิรูปการศึกษา คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาสู่เด็กไทยยุคใหม่ที่เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ พัฒนาสู่ครูยุคใหม่ โดยเน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในรูปคณะกรรมการและเครือข่าย
2) สถานศึกษาควรพัฒนาระบบการประเมินผลตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมให้เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยประเมินให้ตรงเป้าหมายของแผนงาน โครงการ ประเมินการดำเนินงาน ประเมินความพึงพอใจและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานเป็นผู้ร่วมประเมิน
3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูควรทำการซ่อมเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจในด้านทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยและการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี รวมทั้งกลุ่มสาระวิชาอื่น โดยครูมีการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนให้ตรงประเด็น โดยเฉพาะการนำผลประเมิน ผลการทดสอบมาปรับการสอน พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ พัฒนาเครื่องมือวัดผลหรือแบบทดสอบ โดยเทียบเคียงกับรูปแบบการวัดผลของ สทศ. และหมั่นทดสอบ หรือทดสอบย่อยเป็นระยะ ๆ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาควรจัดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง 8 ขั้นตอน อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและพิจารณานำผลการประเมินในแต่ละปีเป็นข้อมูลสำหรับวางแผนงานในปีต่อไป และควรกระตุ้น จูงใจให้ทุกฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดและมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป
นวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของสถานศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โครงการเกษตรผสมผสานเพื่อรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ตารางสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จำแนกตามกลุ่มตัวบ่งชี้
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา) |
น้ำหนัก (คะแนน) |
คะแนนที่ได้ |
ระดับคุณภาพ |
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี |
10.00 |
9.47 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ |
10.00 |
9.37 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
10.00 |
9.03 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น |
10.00 |
7.96 |
ดี |
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน |
20.00 |
10.36 |
พอใช้ |
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
10.00 |
9.00 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา |
5.00 |
4.80 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและ ต้นสังกัด |
5.00 |
4.94 |
ดีมาก |
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษา มาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา
|
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
ผลรวมคะแนนทั้งหมด |
100.00 |
84.93 |
ดี |
สถานศึกษามีผลคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป R ใช่ £ ไม่ใช่ สถานศึกษามีตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับดีขึ้นไป 10 ตัวบ่งชี้ จากทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้ R ใช่ £ ไม่ใช่ สถานศึกษาไม่มีตัวบ่งชี้ใดที่มีระดับคุณภาพต้องปรับปรุง หรือ ต้องปรับปรุงเร่งด่วน R ใช่ £ ไม่ใช่ |
|||
สรุปผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในภาพรวม R สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา £ ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา |
ตารางสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จำแนกตามมาตรฐานการศึกษาตามกฏกระทรวงฯ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา) |
น้ำหนัก (คะแนน) |
คะแนนที่ได้ |
ระดับคุณภาพ |
มาตรฐานที่ 1 ผลการจัดการศึกษา |
|
|
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี |
10.00 |
9.47 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ |
10.00 |
9.37 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง |
10.00 |
9.03 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น |
10.00 |
7.96 |
ดี |
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน |
20.00 |
10.36 |
พอใช้ |
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการศึกษา |
|
|
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา |
5.00 |
4.80 |
ดีมาก |
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษา มาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา |
5.00 |
5.00 |
ดีมาก |
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
|
|
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
10.00 |
9.00 |
ดีมาก |
มาตรฐานที่ 4 ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน |
|
|
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน |
|
|
|
ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและ ต้นสังกัด |
5.00 |
4.94 |
ดีมาก |
ผลรวมคะแนนทั้งหมด |
100.00 |
84.93 |
ดี |